Saturday, June 16, 2007

ต่างชาติชี้รัฐบาลแม้วคอรัปชั่น ชาวกรุงหนุนปุระชัยนั่งนายกฯ

http://www.komchadluek.net/2007/06/17/a001_123144.php?news_id=123144

เอแบคโพลล์สำรวจพบต่างชาติ 59.3 เห็นรัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น "สนธิ บุญยรัตกลิน"เป็นบุคคลสำคัญต่อการชี้นำการเมืองไทยมากที่สุด อยากได้"ปุระชัย" เป็นนายกฯคนใหม่

(17 มิ.ย.) ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis)เสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่องคนไทยและชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนไทยและชาวต่างชาติคิดอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน” โดยสำรวจจากคนไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,750 คน ระหว่างวันที่ 13 - 16 มิถุนายน 2550 และชาวต่างชาติจำนวน 558 คน ระหว่างวันที่ 11 - 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา

สำหรับผลสำรวจในกลุ่มคนไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองลงมา คือ ร้อยละ 24.8 ระบุเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 20.5 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 16.0 ระบุ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ร้อยละ 9.7 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ตามลำดับ

และเมื่อสอบถามถึงกลุ่มบุคคลนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ร้อยละ 26.2 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 16.7 ระบุ ทหารหรือกองทัพ ร้อยละ 13.6 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย ร้อยละ 9.6 ระบุผู้นำม็อบ/ ประชาชนที่ก่อม็อบ PTV ร้อยละ 9.3 ระบุชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 7.5 ระบุ กลุ่ม ส.ส. /กลุ่มนักการเมือง ร้อยละ 6.8 ระบุรัฐบาล และ ร้อยละ 10.9 ระบุอื่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์/กลุ่มประชาธิปไตย และม็อบต่อต้านทักษิณ เป็นต้น

เมื่อสอบถามถึงตัวบุคคลที่มีนัยสำคัญชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 46.3 ระบุ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รองลงมาคือร้อยละ 26.7 ระบุ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 15.9 ระบุ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 7.4 ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 5.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 7.8 ระบุอื่นๆ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเชิงคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 27.5 ระบุเป็นชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป รองลงมาคือร้อยละ 24.4 ระบุเป็นพระสงฆ์/ศาสนา ร้อยละ 22.3 ระบุเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ร้อยละ 20.3 ระบุเป็นรัฐบาล ร้อยละ 5.1 ระบุ กลุ่มผู้สนับสนุน พรรคไทยรักไทย ร้อยละ 4.4 ระบุนักวิชาการ/ ครูอาจารย์ และร้อยละ 8.3 ระบุอื่นๆ อาทิ กลุ่ม ส.ส. นักการเมือง และ คตส. เป็นต้น

ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.6 อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นภายในไม่เกิน 3 เดือนนี้ ร้อยละ 31.6 อยากให้มีการเลือกตั้งภายใน 3 - 6 เดือน และร้อยละ 19.8 อยากให้มีการเลือกตั้งหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป

เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในทรรศนะของประชาชน พบว่า ร้อยละ 41.7 ระบุ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือร้อยละ 37.7 ระบุนายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 34.6 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 31.0 ระบุนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 28.1 ระบุ นายชวน หลีกภัย และร้อยละ 17.5 ระบุอื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

ดร.นพดล กล่าวว่า ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติ ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการที่สำรวจพบ คือ

ชาวต่างชาติที่ถูกศึกษาในครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 รับรู้สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน ในขณะที่เพียงร้อยละ 14.6 ไม่รับรู้เลย ผลสำรวจพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยต่อข้อความที่ว่า รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.3 ไม่มีความเห็น

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ชาวต่างชาติประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การขับไล่ คมช. จะนำไปสู่ความรุนแรงต่อไปในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 25.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น ส่วนความคิดเห็นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยหลังการเลือกตั้งใหม่ พบว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ ในขณะที่ร้อยละ 12.9 ไม่คิดว่าจะทำให้มีเสถียรภาพ และร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น

ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 เห็นว่า การจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาสถานการณ์การเมืองไทยได้ดีที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 12.1 ไม่คิดว่าเหมาะสม

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 คิดว่า คนไทยจะมีความรักความสามัคคีกันในปีนี้ เพราะ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / เพราะคิดว่าคนไทยรักความสงบ เพราะคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศแห่งความสุข และเพราะคิดว่าประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาในจิตใจของคนไทย เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 18.1 คิดว่าคนไทยคงไม่มีความรักความสามัคคีกัน เพราะมีแต่เหตุการณ์ที่วุ่นวายหลายเรื่อง เช่น ปัญหาการเมือง ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่น่าพึงพอใจสำหรับคนไทยคือ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.7 ระบุว่ามีความตั้งใจจะกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีก ในขณะที่ร้อยละ 4.3 เท่านั้นที่ไม่คิดว่าจะกลับมาเมืองไทยอีก ยิ่งไปกว่านั้น ชาวต่างชาติเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.3 ระบุถ้าเกิดใหม่ได้ อยากเกิดมาเป็นคนไทย ในขณะที่ร้อยละ 56.1 ระบุไม่อยาก เพราะพอใจกับเชื้อชาติของตน เพราะสถานการณ์การเมืองไทยและเศรษฐกิจไทยไม่ดี เพราะสังคมไทยยุ่งยากซับซ้อนเข้าใจยาก และเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนเกินไป เป็นต้น และพบด้วยว่าชาวต่างชาติร้อยละ 13.6 ระบุขอคิดดูก่อนเพราะยังไม่แน่ใจว่าถ้าเลือกเกิดใหม่ได้จะเลือกเกิดเป็นคนไทยหรือไม่

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคนไทยแล้ว บุคคลนัยสำคัญต่อการเมืองไทยขณะนี้คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ถ้ากล่าวถึงบุคคลนัยสำคัญต่อสังคมคุณธรรมของประเทศขณะนี้คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์และ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในขณะที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และประชาชนทั่วไปคือกลุ่มบุคคลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยในช่วงเวลานี้ โดยประชาชนคนไทยอยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางออกของสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กำลังถูกมองว่าเหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ภายใต้ข้อจำกัดของตัวเลือกทางการเมืองภายหลังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสิทธิทางการเมือง 111 แกนนำพรรคไทยรักไทย

ในขณะที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่เป็นทางออกที่ดีที่สุดเช่นกัน และหวังว่าคนไทยจะรักและสามัคคีกันในปีนี้เพราะรู้ว่าปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคิดว่าคนไทยรักความสงบ โดยส่วนใหญ่อยากกลับมาเมืองไทยอีก และเกือบ 1 ใน 3 ระบุถ้าเลือกเกิดใหม่ได้อยากเกิดมาเป็นคนไทย

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้ พวกเราคนไทยน่าจะลดอคติที่มีต่อกัน เพราะอคติเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในหมู่คนไทยเหลือน้อยลงไป พวกเราน่าจะนึกถึงวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีน้ำใจเกื้อกูลกัน เอื้ออาทรต่อกัน เพราะความดีงามเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้ประเทศไทยโดดเด่นในสังคมประเทศทั่วโลกและครอบครองใจชาวต่างชาติที่ได้มีโอกาสมาสัมผัสสังคมไทย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศในขณะนี้อยู่ในมือของคนไทยทุกคนที่จะหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธีและช่วยกันนำพาประเทศชาติให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้

Thursday, June 14, 2007

ต้องให้กำลังใจกระบวนการปราบโกง

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=41134&NewsType=2&Template=1

ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือ โต้แย้ง จากกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพวกรวมมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 52,884 ล้านบาท โดยใช้มูลเหตุในการดำเนินการคือ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพวก ได้ทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากผลการตรวจสอบและไต่สวนของอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ของ คตส.

ตามขั้นตอนหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณและพวกถูก อายัดทรัพย์ สามารถเข้าชี้แจงได้ด้วยตัวเองหรือส่งตัวแทนเข้าชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด 60 วัน แต่ที่น่าสนใจท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการต่อท่อน้ำเลี้ยงให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คงจะเป็นการเปิดเผยของนายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ที่ระบุว่า มีการยักย้ายถ่ายเทเงินที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับบริษัทเทมาเส็ก จากวงเงินมูลค่า 73,000 ล้านบาท เหลือเพียง 52,884 ล้านบาท โดยเป็นข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่างโดยเร็วว่า เงินที่หายไปนำไปดำเนินธุรกรรมทางด้านใดบ้าง

ที่สำคัญคือ คตส. ควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การออกมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้กับอดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 โดยเร็ว เพื่อไม่ให้คนบางกลุ่มนำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นและขยายผลว่า มติของ คตส. ในการเสนออายัดทรัพย์เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือที่มีการระบุว่า คตส. ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เหมือนกับกรณีที่คนบางกลุ่มพยายามโต้แย้งว่า การวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งของคนในสังคมที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากปัญหาทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบุคคลที่มีหน้าที่ในการแก้ไขจะต้องเร่งยุติปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว

หลังจากที่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้เข้าล้มล้างรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้เหตุผล 4 ประการที่ประกอบด้วย 1. บ้านเมืองมีความแตกแยก 2. องค์กรอิสระถูกแทรกแซง 3. มีการกระทำที่ส่อว่าจะทุจริตและคอร์รัปชัน และ 4. การกระทำที่ส่อว่าหมิ่นเบื้องสูงนั้น คนส่วนใหญ่เห็นว่าการผลักดันให้มีองค์กรในการตรวจสอบข้อครหาในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันดูจะมีผลงานคืบหน้ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น คตส. และ ป.ป.ช. ทั้งที่การตรวจสอบเรื่องความไม่ถูกต้องในสังคมมักจะไม่มีใครกล้ารับทำหน้าที่นี้ โดยเกรงว่าจะมีปัญหา ดังนั้นคนที่อยากเห็นความถูกต้องในสังคมต้องช่วยกันให้กำลังใจกับ คตส. และ ป.ป.ช. ในการทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและนำทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลกลับคืนมาเป็นสมบัติของชาติโดยเร็ว.

ต้องให้กำลังใจกระบวนการปราบโกง

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=41134&NewsType=2&Template=1

ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือ โต้แย้ง จากกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพวกรวมมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 52,884 ล้านบาท โดยใช้มูลเหตุในการดำเนินการคือ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพวก ได้ทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากผลการตรวจสอบและไต่สวนของอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ของ คตส.

ตามขั้นตอนหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณและพวกถูก อายัดทรัพย์ สามารถเข้าชี้แจงได้ด้วยตัวเองหรือส่งตัวแทนเข้าชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด 60 วัน แต่ที่น่าสนใจท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการต่อท่อน้ำเลี้ยงให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คงจะเป็นการเปิดเผยของนายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. ที่ระบุว่า มีการยักย้ายถ่ายเทเงินที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับบริษัทเทมาเส็ก จากวงเงินมูลค่า 73,000 ล้านบาท เหลือเพียง 52,884 ล้านบาท โดยเป็นข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่างโดยเร็วว่า เงินที่หายไปนำไปดำเนินธุรกรรมทางด้านใดบ้าง

ที่สำคัญคือ คตส. ควรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การออกมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้กับอดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 โดยเร็ว เพื่อไม่ให้คนบางกลุ่มนำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นและขยายผลว่า มติของ คตส. ในการเสนออายัดทรัพย์เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือที่มีการระบุว่า คตส. ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เหมือนกับกรณีที่คนบางกลุ่มพยายามโต้แย้งว่า การวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งของคนในสังคมที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากปัญหาทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบุคคลที่มีหน้าที่ในการแก้ไขจะต้องเร่งยุติปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว

หลังจากที่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้เข้าล้มล้างรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้เหตุผล 4 ประการที่ประกอบด้วย 1. บ้านเมืองมีความแตกแยก 2. องค์กรอิสระถูกแทรกแซง 3. มีการกระทำที่ส่อว่าจะทุจริตและคอร์รัปชัน และ 4. การกระทำที่ส่อว่าหมิ่นเบื้องสูงนั้น คนส่วนใหญ่เห็นว่าการผลักดันให้มีองค์กรในการตรวจสอบข้อครหาในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันดูจะมีผลงานคืบหน้ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น คตส. และ ป.ป.ช. ทั้งที่การตรวจสอบเรื่องความไม่ถูกต้องในสังคมมักจะไม่มีใครกล้ารับทำหน้าที่นี้ โดยเกรงว่าจะมีปัญหา ดังนั้นคนที่อยากเห็นความถูกต้องในสังคมต้องช่วยกันให้กำลังใจกับ คตส. และ ป.ป.ช. ในการทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและนำทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลกลับคืนมาเป็นสมบัติของชาติโดยเร็ว.

Tuesday, June 12, 2007

โพลชี้ ปชช.หนุน คตส.สั่งอายัดทรัพย์'ทักษิณ'

http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=42087

สวนดุสิตโพลระบุประชาชนร้อยละ 51.08 เห็นด้วย คตส.สั่งอายัดทรัพย์สิน 'ทักษิณ' นอกจากนี้ร้อยละ 64.22 ชี้อาจทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงมากขึ้น

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,110 คน ระหว่างวันที่ 11-12 มิถุนายน 2550 ถึงกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. สั่งอายัดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.08 เห็นด้วยกับการอายัดทรัพย์สินกว่า 50,000 ล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และร้อยละ 49.5 ยังเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่รุนแรงเกินไป สมเหตุสมผลตามหลักฐาน และเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ขณะที่มีประชาชนเพียงร้อยละ 29.19 เท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วยกับการอายัดทรัพย์

นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.22 เห็นว่า การออกคำสั่งอายัดทรัพย์ อาจทำให้เกิดปัญหาความรุนแรง และก่อให้เกิดปัญหาความวุ่นวายมากขึ้น

Monday, June 11, 2007

อายัดทรัพย์ 'ทักษิณ'! ทุจริต-ร่ำรวยผิดปกติ

http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=50245

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีมติให้อายัดเงินในบัญชีธนาคารของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ทุกบัญชีธนาคาร และสถาบันการเงิน รวม 21 บัญชี

เบื้องต้นมีพยานและหลักฐานอันเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวก ทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินที่มิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อต่อกิจการของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม โดยพฤติการณ์ทุจริตและประพฤติมิชอบ มีพยานจนถึงขั้นถูกกล่าวหาถึง 5 คดี เช่น ทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดิน มูลค่าตามสัญญา 742 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โครงการจัดซื้อกล้ายาง 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษต

นอกจากนี้ ยังมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ อีก 6 คดี เช่น การแก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า หรือ พรีเพด เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เวอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์

จากพฤติการณ์ทั้งหมด ทำให้คณะกรรมการ คตส. เห็นว่าผลการดำเนินการตรวจสอบในหลายๆ เรื่อง มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกฯ มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ และเนื่องจากได้พบว่าเงินบางส่วนนั้นถูกยักย้ายถ่ายโอนไปแล้ว อาทิ เงินค่าขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งยังเหลืออยู่ในบัญชีประมาณ 52,884 ล้านบาทเท่านั้น จากจำนวนทั้งหมด 73,271 ล้านบาท ดังนั้น คตส.มีมติให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ทุกบัญชีเงินฝาก ทุกธนาคาร ทุกสถาบันการเงิน รวมทั้งหมด 21 บัญชี

ทรท.กร่อยประชุม40กว่าคนโวตั้งเครือข่ายหนุน'ทักษิณ' นอกประเทศ

http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/11/WW03_0301_news.php?newsid=78301

11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 17:49:00

"พงษ์เทพ"เป็นประธานประชุมอดีตกก.บริหารทรท.40กว่าคน 2อดีตรมว.คนนอกโผล่ร่วม ด้าน"นิสิต" เผยตั้งเครือข่ายรายภาคและนอกประเทศ โวระดมสมาชิกสมัครพรรคใหม่ให้ได้ 19 ล้านเสียง

ที่อาคารไอเอฟซีที ที่ทำการพรรคไทยรักไทย เวลา 13.00 น. นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา แกนนำกลุ่มไทยรักไทย เป็นประธานประชุมอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิการเมือง โดยมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเข้าร่วมประชุมประมาณ 40 กว่าคน

เช่น นายจำลอง ครุฑขุนทด นายสุธรรม แสงประทุม นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล นอกจากนี้ ยังมีนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ร.อ.สุชาติ เชาววิศิษฐ์ อดีต รมว.คลัง มาร่วมด้วย

ทั้งนี้ ไม่ปรากฎอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ย้ายไปอยู่กับกลุ่มมัชฌิมา รวมทั้งกลุ่มสมานฉันท์และธรรมาธิปไตย ขณะที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้ากลุ่มไทยรักไทย เดินทางไปฮ่องกงตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา มีกำหนดกลับวันเดียวกันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเริ่มการประชุมได้เกิดการปะทะคารมขึ้นเล็กน้อยระหว่างนายทวี ไกรคุปต์ อดีตส.ส.บัญชรายชื่อพรรคไทยรักไทย กับสื่อมวลชน โดยนายทวี เข้ามาต่อว่าและห้ามช่างภาพ โดยระบุว่าถึงถ่ายไปก็ไม่ได้ออกอากาศ พร้อมขอดูบัตรช่างภาพและผู้สื่อข่าวว่าเป็นนักข่าวจริงหรือไม่ ทำให้เกิดการถกเถียงกันนานถึงครึ่งชั่วโมง จนเจ้าหน้าที่พรรคต้องมาห้ามทัพ

ต่อมา นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และนายประชา ประสพดี อดีตส.ส.สมุทรปราการ ได้เข้ามาไกล่เกลี่ยและพานายทวี ออกไปสงบสติอารมณ์ที่ด้านนอกอาคาร ทำให้นายทวีไม่พอใจอย่างมากเดินทางออกจากพรรคไปทันที โดยไม่ร่วมประชุมใดๆ

ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 10.00 น.นายนิสิต สินธุไพร ประธานกลุ่มคนรักทักษิณ ไม่เอาเผด็จการ เป็นประธานกรประชุมอดีต ส.ส.ไทยรักไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม โดยแบ่งการประชุมออกเป็นรายภาค จากนั้นนายนิสิต เปิดเผยว่า ได้มีการประเมินสถานการณ์การชุมนุม โดยเห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มจะพยายามเคลื่อนไหวโดยระดมคนให้มากที่สุด ทั้งในส่วนของการสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มผ่านแบบฟอร์ม ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีสมาชิกจำนวนเท่ากับคะแนนเสียงของส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อปี 2549 คือ 19 ล้านเสียง และขณะนี้ทางกลุ่มมีแนวร่วมในต่างประเทศ

ได้แก่ กลุ่มคนรักทักษิณฯ ในซานฟรานซิสโก ที่มีนายเอนก ชัยชนะ เป็นประธาน สาขาชิคาโก มีนายปรีชา ฉ่ำแฉล้ม เป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีอีก 2 แห่งที่อยู่เลือกประธานกลุ่ม คือสาขานิวยอร์ก และฝรั่งเศส ส่วนบรรยากาศตอนนี้เดินหน้าเข้าสู่เผด็จการเต็มรูปแบบและมีความพยายามเข่นฆ่าทางการเมือง เช่น ล่าสุดเมื่อช่วงวันเดียวกันนี้ทหารได้บุกตรวจค้นบ้านพักนายศุภชัย โพธ์สุ อดีตส.ส.นครพนม ที่กรุงเทพฯ และนายพรชัย อรรถปรียางกูร อดีตส.ส.เชียงใหม่ก็ถูกทหารควบคุมตัว ดังนั้นกรณีที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งนั้น วันนี้ไปถามประชาชนไม่มีใครเชื่อ เขาเชื่ออย่างเดียวว่าจะมีปฏิติซ้ำ

นายสุรชัย เบ้าจรรยา กล่าวว่า ในวันที่ 12 มิ.ย. เวลา 12.00 น. จะมีกลุ่มคนรากหญ้าจำนวนไม่ต่ำกว่า 500 คน จะไปเดินทางไปประท้วงขับไล่คมช.ที่หน้ากองทัพบก ด้วยการวางพวงหรีดและโกนหัวประท้วง

นายพงศ์เทพ เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ได้เชิญอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์มาหารือถึงผลของคำวินิจฉัย รวมถึงข้อโต้แย้งทางกฎหมายที่ได้ดำเนินการไป และยังแจ้งให้ทราบถึงหน้าที่ของอดีตกรรมการบริหารว่าขั้นตอนต่อไป จะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ส่วนการขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่นั้น เรายังยืนยันว่าจะใช้ชื่อพรรคไทยรักไทยเหมือนเดิม ไม่ได้เตรียมชื่ออื่นๆสำรองไว้ เมื่อถามถึง กรณีที่รัฐบาลส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการเลื่อนเลือกตั้งให้เร็วขึ้น อาจทำให้ตั้งพรรคใหม่ไม่ทัน นายพงศ์เทพตอบว่า ต้องดูความจริงใจของรัฐบาล ว่าอยากให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ หากมีเจตจำนงดังกล่าว ต้องเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งพรรคใหม่โดยเร็วที่สุด

เมื่อถามว่า นายกฯออกมาให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองโดยมีการพาดพิงมายังพรรคไทยรักไทย นายพงศ์เทพตอบว่า ส่วนตัวไม่ได้ฟังโดยตรง มีคนมาเล่าให้ฟังบ้าง ซึ่งหลายเรื่องน่าจะว่ากันด้วยกระบวนการทางศาล ให้ศาลตัดสินว่าเป็นไปอย่าที่มีการกล่าวหาหรือไม่ อย่างไรก็ตามคนที่พูดถึงคนอื่นก็ต้องดูภาพของตัวเองด้วย อย่าไปทึกทักเชื่อตามข้อกล่าวหา เรื่องทั้งหมดต้องไปพิสูจน์กันในชั้นศาล อดีตรัฐมนตรีของพรรคไทยรักไทยได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติไว้มากกว่ารัฐบาลชุดนี้

เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่คตส.จะทำการอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นายพงศ์เทพตอบว่า ไม่ทราบรายละเอียด ต้องไปถามคตส. แต่บอกได้ว่าการใช้กฎหมายจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่นั้น ระยะเวลาที่ใช้อาจบอกไม่ได้ แต่หากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จะมีการตรวจสอบได้ว่าอำนาจทั่ใช้ไปถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ตามที่คตส.มีการกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ เช่นเรื่องที่ดินรัชดา ก็ไม่เห็นว่าจะมีการสืบสาวไปถึงคนที่เกี่ยวข้องเลย รวมทั้งคดีอื่นๆด้วย
นายธีระชัย แสนแก้ว อดีตส.ส.อุดรธานี พรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการที่พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวผ่านทีวีโดยระบุว่าอดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยมีทางออกในการลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่จะถึง ว่า ตอนนี้คนเริ่มไม่เชื่อพล.อ.สุรยุทธ์ ที่นายกฯพูดเช่นนี้เพราะต้องการให้อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยย้ายไปอยู่พรรคอื่น แต่ยืนยันว่าเราไม่ไป จะต่อสู้กับเผด็จการจนถึงที่สุด สาเหตุที่พวกเราเคลื่อนไหวตอนนี้เพราะต้องการลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย ไม่ใช่พรรคอื่น แต่ปรากฏว่าก็ยังมีความพยามไม่ให้เราจดทะเบียนตั้งพรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ตามฝากบอกพรรคอื่นที่แต่งตัวหวีผมรอต้อนรับอดีตส.ส.ว่าเลิกหวังได้แล้ว